336 Views |
ทรัพย์สินทางปัญญา : การเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
WIPO : The Word Intellectual Property Organization
The Convention Establishing the World Intellectual Property Organization (WIPO), concluded in Stockholm on July 14, 1967 (Article 2(viii)) provides that “intellectual property shall include rights relating to:
- literary, artistic and scientific works,
- performances of performing artists, phonograms and broadcasts,
- inventions in all fields of human endeavor,
- scientific discoveries,
- industrial designs,
- trademarks, service marks and commercial names and designations,
-protection against unfair competition,
and all other rights resulting from intellectual activity in the industrial, scientific, literary or artistic fields.”
การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์
1. เครื่องหมายการค้า
2. สิทธิบัตร : อนุสิทธิบัตร และสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์
3. ลิขสิทธิ์
4. สิ่งบ่งชี้ภาคภูมิศาสตร์ (GI)
5. ความลับทางการค้า
6. แบบผังภูมิของวงจรรวม
CBD : The Convention on Biological Diversity 1992
มาตรา 15 (7)
1. โดยตระหนักถึงสิทธิอธิปไตยของรัฐเหนือทรัพยากรธรรมชาติของตน อำนาจในการพิจารณากำหนดการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมขึ้นอยู่กับรัฐบาลแห่งชาติและอยู่ภายใต้กฎระเบียบของชาตินั้นๆ
2. แต่ละภาคีจักต้องพยายามสร้างเงื่อนไขเพื่อเอื้ออำนวยในการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรม สำหรับการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อสิ่งแวดล้อมโดยภาคีอื่นๆ และไม่วางข้อจำกัดซึ่งขัดแย้งต่อวัตถุประสงค์ของอนุสัญญา
3. ตามเจตนารมณ์ของอนุสัญญา ทรัพยากรพันธุกรรมซึ่งถูกจัดหาให้โดยภาคี, ดังได้อ้างถึงในมาตรานี้ และมาตรา 16 และ 19, เป็นเฉพาะทรัพยากรซึ่งถูกจัดหาให้โดยภาคี ซึ่งเป็นประเทศถิ่นกำเนิดของทรัพยากรนั้น หรือโดยภาคีซึ่งได้รับทรัพยากรพันธุกรรมนั้นมาโดยสอดคล้องกับอนุสัญญาฉบับนี้
CBD : The Convention on Biological Diversity 1992
มาตรา 15 (7)
4. การเข้าถึง, ในกรณีที่ได้รับอนุญาต, จักต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ได้รับการตกลงร่วมกันและอยู่ภายใต้ ข้อกำหนดของมาตรานี้
5. การเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมจักต้องอยู่ภายใต้การเห็นชอบที่ได้แจ้งล่วงหน้าของภาคีซึ่งได้ทรัพยากรนั้น นอกเสียจากในกรณีที่ภาคีนั้นพิจารณาเป็นประการอื่น
6. แต่ละภาคี จักต้องพยายามที่จะจัดทำและดำเนินการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งใช้ทรัพยากรพันธุกรรมที่ภาคีอื่นๆ จัดหาให้ โดยการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่, หากเป็นไปได้ทำการวิจัยภายในภาคีนั้นๆ
CBD : The Convention on Biological Diversity 1992
มาตรา 15 (7)
7. แต่ละภาคีจักต้องดำเนินมาตรการทางกฎหมาย, การบริหาร หรือนโยบาย, เท่าที่เหมาะสม, และโดยสอดคล้องกับมาตรา 16 และ 19 และ, ในกรณีที่จำเป็น, โดยผ่านกลไกการเงิน ซึ่งกำหนดโดยมาตรา 20 และ 21 ทั้งนี้ ด้วยเจตนารมณ์เพื่อแบ่งปันในวิถีทางที่ยุติธรรมและเท่าเทียม ซึ่งผลของการวิจัยและการพัฒนา และซึ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมทางการพาณิชย์และอื่นๆ กับภาคี ที่ได้ให้ทรัพยากรนั้น การแบ่งปันนั้นๆ จักต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ได้รับการตกลงร่วมกัน
มาตรา 16 การเข้าถึงและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
1. แต่ละภาคี, โดยตระหนักว่าเทคโนโลยีหมายรวมถึงเทคโนโลยีชีวภาพและทั้งการเข้าถึงและการถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างภาคีเป็นสิ่งจำเป็นขาดเสียมิได้ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของอนุสัญญานี้, ดำเนินการภายใต้ข้อกำหนดของมาตรานี้เพื่อจัดหาให้และ/หรือ เอื้ออำนวยแก่การเข้าถึงเพื่อและถ่ายทอดไปยังภาคีอื่นๆ ซึ่งเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน หรือเทคโนโลยีที่ใช้ประโยชน์ทรัพยากรพันธุกรรมและไม่เป็นต้นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม
2. การเข้าถึงและการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่อ้างถึงในวรรค 1 ข้างต้น ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาจักต้องถูกจัดให้และเอื้ออำนวยภายใต้เงื่อนไขที่ยุติธรรมและเป็นที่พึงพอใจที่สุด หมายรวมถึงภายใต้เงื่อนไขแบบผ่อนปรนหรือแบบสิทธิพิเศษ, ในกรณีที่ได้ตกลงร่วมกัน, และในกรณีที่จำเป็น, โดยสอดคล้องกับกลไกทางการเงิน ซึ่งกำหนดโดยมาตรา 20 และ 21 สำหรับกรณีที่เทคโนโลยีอยู่ภายใต้การคุ้มครองของสิทธิบัตรและสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ การเข้าถึงและการถ่ายทอดนั้นจักต้องถูกจัดให้อยู่ภายใต้เงื่อนไข ซึ่งเป็นที่ยอมรับและสอดคล้องกับการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาอย่างพอเพียงและอย่างมีประสิทธิผล การประยุกต์ใช้ย่อหน้านี้จักต้องสอดคล้องกับวรรค 3, 4 และ 5 ข้างล่างนี้
มาตรา 16 การเข้าถึงและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
3. แต่ละภาคีจักต้องดำเนินมาตรการทางกฎหมาย ด้านการบริหาร หรือนโยบาย, เท่าที่เหมาะสม, ด้วยความมุ่งหมายว่าภาคี, โดยเฉพาะซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนา, ที่จัดหาให้ทรัพยากรพันธุกรรมได้รับการจัดให้เข้าถึงและรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีซึ่งใช้ประโยชน์ทรัพยากรเหล่านั้น ภายใต้เงื่อนไขที่ได้รับการตกลงร่วมกัน ทั้งนี้หมายรวมถึงเทคโนโลยีซึ่งถูกคุ้มครองโดยสิทธิบัตรและสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ , ในกรณีที่จำเป็น, โดยข้อกำหนดของมาตรา 20 และ 21 และโดยสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและสอดคล้องกับวรรค 4 และ 5 ข้างล่างนี้
4. แต่ละภาคีจักต้องดำเนินมาตรการทางกฎหมาย, การบริหาร หรือ นโยบาย, เท่าที่เหมาะสม, ด้วยจุดมุ่งหมายว่าภาคเอกชนจักต้องเอื้ออำนวยในการเข้าถึง, แก่การพัฒนาร่วมกัน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งอ้างถึงในวรรค 1 ข้างต้น เพื่อผลประโยชน์สำหรับทั้งสถาบันภาครัฐและภาคเอกชน และในการนี้จักต้องปฏิบัติตามพันธกรณี ซึ่งรวมอยู่ในวรรค 1, 2 และ 3 ข้างต้น
มาตรา 16 การเข้าถึงและการถ่ายทอดเทคโนโลยี
5. ภาคี, โดยตระหนักว่าสิทธิบัตรและสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาอื่นๆ อาจมีอิทธิพลต่อการดำเนินการตามอนุสัญญาฉบับนี้, จักต้องให้ความร่วมมือในการนี้ภายใต้กฎระเบียบแห่งชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ เพื่อที่จะเป็นหลักประกันว่าสิทธินั้นๆ ได้รับการสนับสนุนและไม่ขัดแย้งต่อวัตถุประสงค์ของอนุสัญญา
มาตรา 17 การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร
1. ภาคีจักต้องเอื้ออำนวยในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารจากทุกแหล่งของรัฐที่สามารถจัดหาข้อมูลให้ได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน, ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงความต้องการเป็นพิเศษของประเทศกำลังพัฒนา
2. การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารดังกล่าว จักต้องรวมถึงการแลกเปลี่ยนผลการวิจัยทางวิชาการ, วิทยาศาสตร์และสังคมเศรษฐกิจ, เช่นเดียวกับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโปรแกรมการฝึกอบรมและการสำรวจ, ความรู้พิเศษเฉพาะ, ความรู้พื้นบ้านและความรู้ที่สืบทอดมาตามประเพณี และประกอบร่วมกับเทคโนโลยีดังอ้างถึงในมาตรา 16, วรรค 1 ในการนี้ จักต้อง, ในกรณีที่เป็นไปได้, รวมถึงการส่งข้อมูลข่าวสารกลับสู่ประเทศเดิมด้วย
พรบ. คุ้มครองพันธุ์พืช
มาตรา 48 ผู้ใดเก็บ จัดหา หรือรวบรวมพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพันธุ์พืชดังกล่าว เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ ศึกษา ทดลอง หรือวิจัยเพื่อประโยชน์ในทางการค้าจะต้องทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้พันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นนั้น
ในการอนุญาตให้ผู้ใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง และการทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์ที่ได้รับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่น เป็นผู้ทำนิติกรรมแทนชุมชน ทั้งนี้ จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อน
มาตรา 49 ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิในพันธุ์พืชพื้นเมืองเฉพาะถิ่นให้จัดสรรแก่ผู้ซึ่งอนุรักษ์หรือพัฒนาพันธุ์พืชนั้นร้อยละยี่สิบ เป็นรายได้ร่วมกันของชุมชนร้อยละหกสิบ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กลุ่มเกษตรกรหรือสหกรณ์ที่เป็นผู้ทำนิติกรรมร้อยละยี่สิบ
การแบ่งผลประโยชน์ในระหว่างผู้ซึ่งอนุรักษ์หรือพัฒนาพันธุ์พืชให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งใดๆ เกี่ยวกับการจัดสรรผลประโยชน์ตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
มาตรา 52 ผู้ใดเก็บ จัดหา หรือรวบรวมพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไป พันธุ์พืชป่าหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพันธุ์พืชดังกล่าว เพื่อการปรับปรุงพันธุ์ ศึกษา ทดลอง หรือวิจัยเพื่อประโยชน์ในทางการค้า จะต้องได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ และทำข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ โดยให้นำเงินรายได้ตามข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ส่งเข้ากองทุนคุ้มครองพันธุ์พืช ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
ข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์อย่างน้อยต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(1) วัตถุประสงค์ของการเก็บหรือรวบรวมพันธุ์พืช
(2) จำนวนหรือปริมาณของตัวอย่างพันธุ์พืชที่ต้องการ
(3) ข้อผูกพันของผู้ได้รับอนุญาต
(4) การกำหนดความเป็นเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาในผลงานการปรับปรุงพันธุ์ ศึกษา ทดลอง หรือวิจัยที่ได้มาจากการใช้พันธุ์พืชในข้อตกลง
(5) การกำหนดจำนวน อัตรา และระยะเวลาการแบ่งปันผลประโยชน์ตามข้อตกลง แบ่งปันผลประโยชน์ในผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากการใช้พันธุ์พืชในข้อตกลง
(6) อายุของข้อตกลง
(7) การยกเลิกข้อตกลง
(8) การกำหนดวิธีการระงับข้อพิพาท
(9) รายการอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
พรบ. คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542
มาตรา 19
ผู้ใดประสงค์จะนำตำรับยาแผนไทยของชาติไปขอขึ้นทะเบียนตำรับยาและขออนุญาตผลิตยาตามกฎหมายว่าด้วยยา หรือนำไปทำการศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาเป็นตำรับยาใหม่เพื่อประโยชน์ในทางการค้า หรือประสงค์จะทำการศึกษาวิจัยตำราการแพทย์แผนไทยของชาติเพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยขึ้นใหม่ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางการค้าให้ยื่นคำขอรับอนุญาตใช้ประโยชน์และชำระค่าธรรมเนียม รวมทั้งค่าตอบแทนสำหรับการใช้ประโยชน์ดังกล่าวต่อผู้อนุญาต
การขอรับอนุญาตและการอนุญาต ข้อจำกัดสิทธิ และค่าตอบแทน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
หลักการแบ่งปันผลประโยชน์
หลักการแบ่งปันผลประโยชน์
- การชำระทั้งหมดครั้งแรกครั้งเดียว หรือตามจำนวนครั้งที่มีการผลิต
- การแบ่งปันผลประโยชน์จากจำนวนสินค้าที่ผลิต
- การแบ่งปันผลประโยชน์จากจำนวนสินค้าที่จำหน่ายได้
- ความตกลงในการถ่ายทอดเทคโนโลยี
- การให้ทุนการวิจัย / การศึกษา
- ฯลฯ
ปัจจัยในการพิจารณา
- ดำเนินการต่อรอง
- ลักษณะความยั่งยืนของสินค้า (การคาดการณ์ความทันสมัยของผลิตภัณฑ์)
- กลุ่มตลาดผู้บริโภค / ความต้องการ
- การแข่งขันของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ในตลาด- ข้อจำกัดในเรื่องของแหล่งกำเนิดอันเป็นปัจจัยในการผลิต